ความงามตามธรรมชาติ
ReadyPlanet.com


ความงามตามธรรมชาติ


  ศัลยกรรมตา ตาสองชั้น จัดเรียงไขมันใต้ตา นำถุงไขมันใต้ตาออก และอื่นๆ อีกมากมาย จากแพทย์ศัลยกรรมชั้นนำจากเกาหลี เข้าถึงง่าย ไม่ต้องบินไกลไปถึงเกาหลีกับ K Beauty Hospital



ธรรมชาติ(Natural) หมายถึง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นตามวัฏจักรของระบบสุริยะ โดยที่มนุษย์มิได้เป็นผู้สรรค์สร้างขึ้น เช่น กลางวัน กลางคืน เดือนมืด เดือนเพ็ญ ภูเขา น้ำตก ถือว่าเป็นธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติตามความหมายทางพจนานุกรมของนักปราชญ์ทางศิลปได้ให้ความหมายอย่างกว้างขวางตามแนวทางหรือทัศนะส่วนตัวไว้ดังนี้คือ ศิลปะ(ART) คํานี้ ตามแนวสากล มาจากคําว่า ARTI และ ARTE ซึ่งเป็นคําที่นิยมใช้กันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คําว่า ARTI นั้น หมายถึง กลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14, 15 และ 16 ส่วนคําว่าARTE หมายถึง ฝีมือ ซึ่งรวมถึง ความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปินด้วย เช่น การผสมสีสําหรับลงพื้น การเขียนภาพสีน้ำมัน หรือการเตรียม และการใช้วัสดุอื่น

องค์ประกอบที่สําคัญในงานศิลปะ

1. รูปแบบ (FORM) ในงานศิลปะ หมายถึง รูปร่างลักษณะที่ศิลปินถ่ายทอดออกมาให้ปรากฏเป็นรูปธรรมในงานศิลปะ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

1.1 รูปแบบธรรมชาติ (NATURAL FORM) ได้แก่ น้ำตกภูผา ต้นไม้ ลําธาร กลางวัน กลางคืน ท้องฟ้า ทะเล

1.2 รูปแบบเรขาคณิต (GEOMETRIC FORM) ได้แก่ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ทรงกระบอก

1.3 รูปแบบนามธรรม (ABSTRACT FORM) ได้แก่ รูปแบบที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง โดยอิสระ หรืออาจตัดทอน (DISTROTION) ธรรมชาติ ให้เหลือเป็นเพียงสัญลักษณ์(SYMBOL) ที่สื่อความหมายเฉพาะตัวของศิลปินซึ่งรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น ศิลปินสามารถที่จะเลือกสรรนํามาสร้างเป็นงานศิลปะ ตามความรู้สึกที่ประทับใจหรือพึงพอใจในส่วนตัวของศิลปิน

2. เนื้อหา (CONTENT) หมายถึง การสะท้อนเรื่องราวลงไปในรูปแบบดังกล่าว เช่น กลางวัน กลางคืน ความรักการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองและคุณค่าทางการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ เป็นต้น

3. เทคนิค (TECHNIQUE) หมายถึง ขบวนการเลือกสรรวัสดุตลอดจนวิธีการสร้างสรรค์ นํามาสร้างศิลปะชิ้นนั้นๆ เช่น สีน้ำมัน สีชอล์ก สีน้ำ ในงานจิตรกรรม หรือไม้ เหล็ก หิน ในงานประติมากรรมเป็นต้น

4. สุนทรียศาสตร์(AESTHETICAL ELEMENTS) ซึ่งมี 3 อย่าง คือ ความงาม (BEAUTY) ความแปลกหูแปลกตา (PICTURESQUENESS) และความน่าทึ่ง (SUBLIMITY)ซึ่งศิลปกรรมชิ้นหนึ่งอาจมีทั้งความงามและความน่าทึ่งผสมกันก็ได้ เช่น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อาจมีทั้งความงามและความน่าทึ่งรวมอยู่ด้วยกันการที่คนใดคนหนึ่งมีสุนทรียะธาตุในความสํานึก เรียกว่า มีประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์(AESTHETHICAL EXPERIENCE) ซึ่งจะต้องอาศัยการเพาะบ่มทั้งในด้านทฤษฎีตลอดจนการให้ความสนใจเอาใจใส่รับรู้ต้อการเคลื่อนไหวของวงการศิลปะโดยสม่ําเสมอเช่น การชมนิทรรศการที่จัดขึ้นในหอศิลป เป็นต้นเมื่อกล่าวถึง งานศิลปกรรมและองค์ประกอบ ที่สําคัญในงานศิลปะแล้วหากจะย้อนรอยจากความเป็นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน แล้ว พอจะแยกประเภทการสร้างสรรค์ของศิลปินออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

1. กลุ่มที่ยึดรูปธรรม (REALISTIC) หมายถึงกลุ่มที่ยึดรูปแบบที่เป็นจริงในธรรมชาติมาเป็นหลักในการสร้างงานศิลปะ สร้างสรรค์ออกมาให้มีลักษณะคล้ายกับกล้องถ่ายภาพ หรือตัดทอนบางสิ่งออกเพียงเล็กน้อย ซึ่งกลุ่มนี้ได้พยายามแก้ปัญหาให้กับผู้ดูที่ไม่มีประสบการณ์ทางศิลปะ และสามารถสื่อความหมายระหว่างศิลปะกับผู้ดูได้ง่ายกว่าการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะอื่นๆ

2. กลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่ยึดแนวทางการสร้างงานที่ตรงข้ามกับกลุ่มรูปธรรม ซึ่งศิลปินกลุ่มนี้มุ่งที่จะสร้างรูปทรง (FORM) ขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่อาศัยรูปทรงทางธรรมชาติหรือหากนําธรรมชาติมาเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ก็จะใช้วิธีลดตัดทอน (DISTORTION) จนในที่สุดจะเหลือแต่โครงสร้างที่เป็นเพียงสัญญาลักษณ์ และเช่นงานศิลปะของ มอนเดียน (MONDIAN)

3. กลุ่มกึ่งนามธรรม (SEMI-ABSTRACT) เป็นกลุ่มอยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มรูปธรรม(REALISTIC) และกลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่สร้างงานทางศิลปะโดยใช้วิธีลดตัดทอน(DISTORTION) รายละเอียดที่มีในธรรมชาติให้ปรากฏออกมาเป็นรูปแบบทางศิลปะ เพื่อผลทางองค์ประกอบ(COMPOSITION) หรือผลของการแสดงออก แต่ยังมีโครงสร้างอันบ่งบอกถึงที่มาแต่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นผลที่ผู้เขียนได้กล่าวนําในเบื้องต้นจากการแบ่งกลุ่มการสร้างสรรค์ของศิลปินทั้ง 3 กลุ่ม ที่กล่าวมาแล้วนั้นมีนักวิชาการทางศิลปะได้เปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจ คือ กลุ่มรูปธรรม (REALISTIC) เปรียบเสมือนการคัดลายมือแบบตัวบรรจง กลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) เปรียบเสมือนลายเซ็น กลุ่มกึ่งนามธรร(SEMIABSTRACT)เปรียบเสมือนลายมือหวัด

มนุษย์กับศิลปะ

หากกล่าวถึงผลงานศิลปะทําไมจะต้องกล่าวถึงแต่เพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเท่านั้น จอมปลวกรังผึ้งหรือรังนกกระจาบ ก็น่าที่จะเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเยี่ยม ที่เกิดจากสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น หากเราจะมาทําความ เข้าใจถึงที่มาของการสร้างก็พอจะแยกออกได้เป็น 2 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ทําไมจอมปลวก รังผึ้ง หรือรังนกกระจาบสร้างขึ้นมาจึงไม่เรียกว่างานศิลปะ ประเด็นที่ 2 ทําไมสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาถึงเรียกว่า เป็น ศิลปะ

จากประเด็นที่ 1 เราพอจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เราไม่เรียกว่า เป็นผลงานศิลปะเพราะปลวก ผึ้งและนกกระจาบสร้างรัง หรือจอมปลวกขึ้นมาด้วยเหตุผลของสัญชาตญาณที่ต้องการความปลอดภัย ซึ่งมีอยู่ในตัวของสัตว์ทุกชนิด ที่จําเป็นต้องสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายต่างๆ ตลอดจนภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตกแดดออก เป็นต้น หรืออาจต้องการความอบอุ่น ส่วนเหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ จอมปลวก รังผึ้ง หรือรังนกกระจาบนั้น ไม่มีการพัฒนาในเรื่องรูปแบบ ไม่มีการสร้างสรรค์ให้ปรากฏรูปลักษณ์แปลกใหม่ขึ้นมายังคงเป็นอยู่แบบเดิมและตลอดไป จึงไม่เรียกว่า เป็นผลงานศิลปะ แต่ในทางปัจจุบัน หากมนุษย์นํารังนกกระจาบหรือรังผึ้งมาจัดวางเพื่อประกอบกับแนวคิดสร้างสรรค์เฉพาะตน เราก็อาจจัดได้ว่า เป็นงานศิลปะ เพราะเกิดแรงจูงใจภายในของศิลปิน (Intrinsic Value) ที่เห็นคุณค่าของความงามตามธรรมชาตินํามาเป็นสื่อในการสร้างสรรค์

ประเด็นที่ 2 ทําไมสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาถึงเรียกว่า ศิลปะ หากกล่าวถึงประเด็นนี้ก็มีเหตุผลอยู่หลายประการซึ่งพอจะกล่าวถึงพอสังเขป ดังนี้

1. มนุษย์สร้างงานศิลปะขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการสร้าง เช่น- ชาวอียิปต์(EGYPT) สร้างมาสตาบ้า (MASTABA) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายม้าหินสําหรับนั่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมแท่งสูงข้างบนเป็นพื้นที่ราบ มุมทั้งสี่เอียงลาดมาที่ฐานเล็กน้อย มาสตาบ้าสร้างด้วยหินขนาดใหญ่ เป็นที่ฝังศพขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยซึ่งต่อมาพัฒนามาเป็นการสร้างพีระมิด (PYRAMID) เพื่อบรรจุศพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ (PHARAOH) มีการาบน้ำยาศพหรือรักษาศพไม่ให้เนาเปื่อยโดยทําเป็นมัมมี่ (MUMMY) บรรจุไว้ภายใน เพื่อรอวิญญาณกลับคืนสู่ร่าง ตามความเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ของชาวอียิปต์การก่อสร้างพุทธสถานเช่น สร้างวัด สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ในพุทธศาสนา มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเป็นที่พํานักของสงฆ์ตลอดจนใช้เป็นที่เผยแพร่ศาสนา

2. มีการสร้างเพื่อพัฒนารูปแบบโดยไม่สิ้นสุด จะเห็นได้จาก มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (PREHISTORICAL PERIOD) ได้หลบภัยธรรมชาติ ตลอดจนสัตว์ร้ายเข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ํา เมื่อมีความเข้าใจในปรากฏการณ์ อันเกิดขึ้นจากธรรมชาติและประดิษฐ์เครื่องมือ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยจนในสมัยต่อมา มีการพัฒนาการสร้างรูปแบบอาคารบ้านเรือนในรูปแบบต่างๆ ตามความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม และความเจริญทางเทคโนโลยีมีการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กและวัสดุสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่างๆตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบทางสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อมเช่นสถาปัตยกรรม “THE KAUF MANN HOUSE” ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ ที่รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา

3. ความต้องการทางกายภาพที่เป็นปฐมภูมิของมนุษย์ทุกเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ เพื่อนํามาซึ่งความสะดวกสบายในการดําเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากเครื่องอุปโภค บริโภคตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตผลที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ทั้งสิ้นในทางศิลปะที่เช่นเดียวกับ ศิลปินจะไม่จําเจอยู่กับงานศิลปะที่มีรูปแบบเก่าๆ หรือสร้างงานรูปแบบเดิมซ้ำๆ กันแต่จะคิดค้นรูปแบบ เนื้อหา หรือเทคนิคที่แปลกใหม่ให้กับตัวเอง เพื่อพัฒนาการสร้างงานศิลปะรูปแบบเฉพาะตนอย่างมีลําดับขั้นตอน เพื่อง่ายแก่การเข้าใจจึงขอให้ผู้อ่านทําความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ในทางศิลปะเสียก่อน



ผู้ตั้งกระทู้ KBH :: วันที่ลงประกาศ 2024-03-20 10:35:02


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.